ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไตไม่ไกลตัว  (อ่าน 36 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 805
  • โพสประกาศฟรี , ลงประกาศฟรีออนไลน์, เว็บประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคไตไม่ไกลตัว
« เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2024, 11:37:47 น. »
ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ขับของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพไตให้ห่างไกลจากความเสื่อมเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
รู้จักกับไต ในร่างกายของคนเรามีไตอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่กรองน้ำ เกลือแร่ สารเคมี และของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ

หน้าที่ของไต

    กำจัดของเสีย
    ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย และดูดซึมกลับในภาวะขาดน้ำ
    รักษาสมดุลเกลือแร่ กรด ด่างของร่างกาย
    ควบคุมความดันโลหิต การเป็นโรคไต ทำให้ความดันโลหิตสูงได้
    ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น
        ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin)
        ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการควบคุมความดันโลหิต (Renin-Angiotensin-Aldosterone System)
        ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลแคลเซียม (Vitamin D และ Parathyroid Hormone)


ปัจจัยเสี่ยงโรคไต

    เบาหวาน 1 ใน 3 ของคนที่เป็นเบาหวานมักเป็นโรคไตด้วย โดยอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ค่าการทำงานของไตลดลง
    ความดันโลหิตสูง ในผู้ใหญ่ 1 ใน 5 คน จะมีปัญหาความดันโลหิตสูง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว ซึ่งในไตเต็มไปด้วยหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตด้วย
    ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
    โรคหลอดเลือดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจหรือสมอง
    คนที่อายุมากกว่า 60 ปี อัตราการทำงานของไตลดลง
    คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตและสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ถุงน้ำในไต
    ผู้ป่วยที่มักมีโรคไตร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยโรค SLE โรคหลอดเลือดอักเสบ หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ
    ผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยาหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อไต

ประเภทโรคไต โรคไต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    ไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury, AKI)
    ภาวะที่การทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว มีค่าไตผิดปกติช่วงเวลาสั้น ๆ ในเวลาเป็นชั่วโมงหรือในไม่กี่วัน ส่งผลให้ไตไม่สามารถขับของเสียและบกพร่องหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด ด่างในเลือด โดยมักจะดีขึ้นได้ในเวลาไม่นาน ถ้าได้รับการแก้ไขในเวลาอันรวดเร็ว
    ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD)
    ภาวะที่การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ทำลายเนื้อไตแบบค่อยเป็นค่อยไปนานเกินกว่า 3 เดือน โดยแบ่งระยะและระดับความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังออกเป็น 5 ระยะตามอัตราการกรองของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) ซึ่งคือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (มล./นาที/1.73 ตร.ม.)
        ไตเรื้อรังระยะที่ 1 อัตราการกรองของไต (eGFR) ปกติมากกว่า 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
        ไตเรื้อรังระยะที่ 2 อัตราการกรองของไต (eGFR) 60 – 89 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
        ไตเรื้อรังระยะที่ 3 อัตราการกรองของไต (eGFR) 30 – 59 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
        ไตเรื้อรังระยะที่ 4 อัตราการกรองของไต (eGFR) 15 – 29 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
        ไตเรื้อรังระยะที่ 5 อัตราการกรองของไต (eGFR) น้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม.


สาเหตุการเกิดโรคไต

    โรคที่ส่งผลให้เลือดมาเลี้ยงไตลดลง เช่น เสียเลือดมาก หลอดเลือดที่เลี้ยงไตตีบ
    โรคที่เกิดความผิดปกติของไตโดยตรง เช่น
        อักเสบจากการติดเชื้อ
        อักเสบจากการไม่ติดเชื้อ
        ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายกับไต เช่น สารพิษ หรือยา
        ภาวะหลอดเลือดในไตอักเสบ
    โรคไตที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ความผิดปกติของท่อไต นิ่ว หรือเนื้องอกของกระเพาะปัสสาวะ

อาการบอกโรคไต

    อาการซึ่งเกิดจากการสะสมของของเสีย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน คันตามผิวหนัง
    ปัสสาวะน้อยหรือบ่อยผิดปกติ เพราะความสามารถในการขับน้ำผิดปกติไป
    ลักษณะปัสสาวะผิดปกติ เช่น สีผิดปกติ มีเลือดปน เป็นฟองจากการมีโปรตีนรั่ว หรือมีนิ่วปนออกมา
    ตาบวม ขาบวม อาจเกิดจากภาวะน้ำคั่งหรือเสียโปรตีนออกไปจนเกิดภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ
    เหนื่อยง่าย เนื่องจากภาวะน้ำเกิน
    ความดันโลหิตสูง
    ตะคริว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะซีด ฯลฯ

ตรวจหาโรคไต การตรวจหาโรคไตแพทย์จะตรวจหาสาเหตุเพื่อประเมินความรุนแรง ได้แก่

    ตรวจเลือด เพื่อตรวจระดับของเสียในเลือด ตรวจสมดุลเลือด กรด ด่าง อัตราการกรองของไต ฯลฯ
    ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urinalysis) วัดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (Urine Microalbumin to Creatinine Ratio)
    ตรวจจากภาพถ่าย ได้แก่ เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์ (Ultrasound), CT Scan, MRI Scan
    ตรวจชิ้นเนื้อ (Kidney Biopsy)
    การตรวจพิเศษต่าง ๆ จำเพาะโรค (Special Tests)

ดูแลรักษาไต แม้ว่าไม่ได้ป่วยเป็นโรคไตก็ควรมีการตรวจสุขภาพทั่วไปรวมถึงการทำงานของไตตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคไต แต่หากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นโรคไต การดูแลรักษาไตสามารถทำได้โดย
1) รักษาตามสาเหตุ หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาได้จะเลือกวิธีการดูแลรักษาจากความแข็งแรงของไต
2) ชะลอการเสื่อมของไต ได้แก่

    ควบคุมความดันโลหิต แพทย์จะปรับยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตในอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งความดันโลหิตที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (น้ำตาลในเลือด<120 มก.เดซิลิตรหรือน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c <7%)
    ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะโปรตีน ขึ้นอยู่กับระดับความเสื่อมของไต หากไตเสื่อมมากต้องจำกัดมาก โดยอาหารผู้ป่วยโรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
        กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้ฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง แพทย์มักแนะนำให้จำกัดโปรตีน รับประทานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่มากจนเกินไป ในบางรายที่ระดับของเสียในเลือดสูง อาจแนะนำให้จำกัดโปรตีนร่วมกับรับประทานโปรตีนเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคไต
        กลุ่มผู้ป่วยโรคไตที่ฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มนี้ต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการสูญเสียโปรตีนออกไปมากขณะฟอกเลือดและล้างช่องท้อง
    หลักการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไต คือ จำกัดโปรตีนตามระยะของโรคเพื่อชะลอการเสื่อมของไต หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งเสริมให้เกิดภาวะความผิดปกติของเกลือแร่ เช่น ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำด้านอาหารที่เหมาะสมจากแพทย์หรือนักโภชนากร
    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น น้ำจิ้ม เพราะเผ็ดมักจะมากับเค็ม สำหรับผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำจำเป็นต้องอ่านฉลากอย่างระมัดระวัง เพราะสารให้ความเค็มที่นำมาใช้ทดแทนส่วนใหญ่คือ โพแทสเซียม ซึ่งในผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับโพแทสเซียมที่ผิดปกติมีผลโดยตรงต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่าใช้เกลือโพแทสเซียมแทนโซเดียมจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต
    หยุดสูบบุหรี่ มีความสำคัญมาก เนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไต
    หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาลูกกลอน และยาสมุนไพรที่ไม่ได้การรับรอง
    ประเมินน้ำดื่มตามสภาวะน้ำในร่างกาย
    พบแพทย์เป็นประจำ

3) การบำบัดทดแทนไต (Kidney Replacement Therapy; KRT) เมื่ออัตราการกรองของไตเหลือน้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการอันเกิดจากมีน้ำหรือของเสียคั่ง แพทย์จะแนะนำการรักษาบำบัดทดแทนไต ซึ่งในปัจจุบัน มี 3 ทางเลือก ได้แก่

    การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) เป็นการใส่น้ำยาฟอกเลือดผ่านท่อซิลิโคนขนาดเล็กซึ่งฝังผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปอยู่ในช่องท้อง ทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้องเป็นระยะเวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนตามความเข้มข้นของสารผ่านเยื่อบุช่องท้อง ของเสีย และน้ำส่วนเกินจะถูกขจัดออกมาอยู่ในน้ำยาซึ่งจะถูกถ่ายทิ้งไป และถูกแทนที่ด้วยน้ำยาใหม่ที่ปราศจากของเสียในรอบต่อไป ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ระหว่างรอบของการเปลี่ยนน้ำยา


    การฟอกเลือด (Hemodialysis) เป็นกระบวนการนำเลือดมาทำให้สะอาดขึ้น ด้วยการกำจัดของเสียและปรับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ผ่านเครื่องไตเทียม ปัจจุบันมีการพัฒนาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมาเป็นการฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง (Online Hemodiafiltration – OL HDF) เพื่อให้กำจัดของเสียได้ดียิ่งกว่าแบบเดิม

    การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) เป็นการบำบัดทดแทนไตในการรักษาไตวายเรื้อรัง โดยนำไตที่ยังทำงานได้ดีมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยไม่จำเป็นต้องนำไตเก่าออก นอกจากมีความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งไตที่ได้รับการปลูกถ่ายจะทำงานได้ใกล้เคียงกับไตปกติ ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

ป้องกันโรคไต

    เลือกรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือมาก ในผู้ป่วยไตเรื้อรังควรปรับสัดส่วนโปรตีนให้เหมาะสมกับระยะของโรค
    อาหารที่มีเกลือมาก ได้แก่ อาหารที่ผ่านการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ หมูตุ๋น บ๊วย มะม่วงดอง ฯลฯ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ใช้เกลือเพื่อถนอมอาหาร เกลือมีผลต่อการทำงานของไตทั้งทางตรงและทางอ้อม
    รับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เลี่ยงไขมันจากสัตว์ ไข่แดง กะทิ และน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
    ดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน
    ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้เกิดภาวะอ้วน
    ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น แอโรบิก เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ
    หยุดสูบบุหรี่
    เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    ตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
    พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดและผ่อนคลายอารมณ์
    ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี


การป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคไตเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่หากรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและประเมินการทำงานของไตโดยเร็ว และหากตรวจวินิจฉัยพบความผิดปกติ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำและรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรละเลยเนื่องจากโรคอาจมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กลายเป็นไตเสื่อมถาวรได้

โรคไตไม่ไกลตัว อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298

 


















































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า