ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: โรคโควิด-19  (อ่าน 138 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 233
  • โพสประกาศฟรี , ลงประกาศฟรีออนไลน์, เว็บประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: โรคโควิด-19
« เมื่อ: วันที่ 6 กันยายน 2024, 17:55:26 น. »
Doctor At Home: โรคโควิด-19

สาเหตุ

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจชนิดรุนแรง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ซึ่งมีชื่อว่า Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2)* สามารถติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดายแบบไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ ด้วยส่วนมากติดต่อโดยการสูดเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก/น้ำลายขนาดใหญ่ ที่ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจรดใส่เวลาพูดคุยหรือส่งเสียงร้อง (ร้องเพลง ตะโกน) การแพร่เชื้อโดยวิธีนี้เรียกว่า "การติดต่อผ่านฝอยละออง (droplet transmission)" ซึ่งสามารถกระจายออกไปภายในรัศมีไม่เกิน 1 เมตร

การติดต่อที่พบได้บ่อยอีกวิธีหนึ่ง คือ การติดต่อโดยการสัมผัส กล่าวคือ ฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยในอากาศ ซึ่งผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อปล่อยออกมานั้นจะตกลงบนพื้นผิวต่าง ๆ หรือมือของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อที่ปนเปื้อนเสมหะ/น้ำลายของตัวเอง เผลอไปสัมผัสถูกมือของผู้อื่น หรือไปจับต้องวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ (ซึ่งเชื้อมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง ๆ บางกรณีอาจนานถึง 72 ชั่วโมง) เมื่อคนปกติเกิดไปสัมผัสมือผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ วัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ แล้วเผลอนำมือที่เปื้อนเชื้อนั้นไปสัมผัสหน้า ตา จมูก ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ การติดต่อโดยการสัมผัส ผู้สัมผัสเชื้อไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน จึงสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนที่อยู่ห่างไกลออกไปได้

นอกจากนี้ ยังพบว่าการอยู่ในพื้นที่หรือห้องที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 5 ไมครอน) หรือฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายที่ระเหยไปจนมีขนาดเล็ก ซึ่งผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อปล่อยออกมาสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นชั่วโมง ๆ และกระจายไปได้ไกลกว่า 1 เมตร เมื่อคนปกติสูดเอาฝอยละอองนี้เข้าไปก็เกิดการติดเชื้อได้ การแพร่เชื้อโดยวิธีนี้เรียกว่า "การติดต่อผ่านอากาศ (airborne transmission)" ซึ่งพบว่าโรคโควิด-19 มีการติดต่อโดยวิธีนี้เป็นส่วนน้อย

ระยะฟักตัว ระยะที่นับจากวันที่ติดเชื้อจนมีอาการป่วยไข้ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-14 วัน ส่วนน้อยอาจมีระยะฟักตัวมากกว่า 14 วันขึ้นไป**

ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะฟักตัว (เรียกว่า "ผู้ป่วยก่อนมีอาการ" หรือ "presymptomatic") สามารถแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ

นอกจากนี้ มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยของโรคนี้แต่อย่างใดเลย (เรียกว่า "ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ" หรือ "asymptomatic" ซึ่งพบได้ราวร้อยละ 20-30 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด) ก็สามารถแพร่เชื้อได้

การติดเชื้อราวครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) เป็นการติดมาจากผู้ที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งหมายรวมถึงผู้ป่วยก่อนมีอาการและผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

*กลุ่มไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคในคนทุกปีมาแต่นานนม มีอยู่ 4 สายพันธุ์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดไข้หวัดธรรมดาที่พบในคนทั่วไป ซึ่งมีความรุนแรงไม่มาก และคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อไวรัสพวกนี้

แต่ต่อมาเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ได้เกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสโคโรนาซาร์ส (SARS-CoV, Severe acute respiratory syndrome coronavirus) ซึ่งทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (SARS, Severe acute respiratory syndrome) ในปี 2545 และไวรัสโคโรนาเมอร์ส (MERS-CoV, Middle East respiratory syndrome coronavirus) ซึ่งทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (MERS, Middle East Respiratory Syndrome) ในปี 2555

โรค 2 ชนิดนี้มีความรุนแรงทั้งคู่ โดยมีอัตราการเสียชีวิตถึงประมาณร้อยละ 11 สำหรับโรคซาร์ส (มีผู้ป่วยในมากกว่า 30 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 8,422 ราย เสียชีวิตราว 916 ราย) และประมาณร้อยละ 34 สำหรับโรคเมอร์ส (มีผู้ป่วยใน 27 ประเทศ รวมทั้งสิ้นราว 2,500 ราย เสียชีวิตราว 850 ราย)

เมื่อปลายปี 2562 เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาชนิดที่ 7 เรียกว่า "โรคโควิด-19 (COVID-19)" และเรียกไวรัสตัวใหม่นี้ว่า ไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2, SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส แต่มีความรุนแรงและการระบาดของโรคต่างจากโรคซาร์ส

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสตัวใหม่นี้มาจากไหน สันนิษฐานว่าอาจติดมาจากตัวนิ่ม ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสตัวใหม่นี้จากค้างคาวมาสู่คน

**มีรายงานการศึกษาที่อู่ฮั่นว่า มีค่ามัธยฐานของระยะฟักตัว 5.1 วัน (หมายความว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งมีระยะฟักตัวน้อยกว่า 5.1 วัน และครึ่งหนึ่งมีระยะฟักตัวมากกว่า 5.1 วัน) และร้อยละ 97.5 ของผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นภายใน 11.5 วัน

อาการ

ผู้ติดเชื้อบางรายไม่มีอาการผิดสังเกตแต่อย่างใดเลย แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้

ส่วนผู้ติดเชื้อกลุ่มที่มีอาการ เริ่มแรกจะมีอาการไข้ (มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส) อ่อนเพลีย ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ เป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร ไอมีเสมหะ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อหรือกล้ามเนื้อ หนาวสั่น เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล แน่นหน้าอก ใจสั่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน

บางรายอาจไม่มีอาการเป็นไข้ตัวร้อน แต่มีอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คล้ายเป็นหวัดธรรมดา บางรายอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง หรือผื่นขึ้นร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ราวร้อยละ 80) มีอาการเพียงเล็กน้อย คล้ายเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และหายได้เอง

ส่วนน้อย (ราวร้อยละ 20) มีอาการรุนแรง คือหลังมีไข้ ไอ ได้ราว 1 สัปดาห์ อาจเกิดปอดอักเสบแทรกซ้อน (มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงร่วมด้วย) หรือภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา

ภาวะแทรกซ้อน

โรคโควิด ถึงแม้จะเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่เชื้อไวรัสโควิดยังกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการอักเสบที่รุนแรง (ไวรัสกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันหลั่งสารที่มีชื่อว่า "ไซโทคีน (cytokine)" ออกมาปริมาณมาก เรียกว่า "ภาวะพายุไซโทไคน์ (cytokine storm)" ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออวัยวะหลายระบบของร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย

ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่

    ปอดอักเสบชนิดร้ายแรง กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome/ARDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
    ภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
    โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว
    โรคเลือดและหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดฝอยมีลิ่มเลือด (thrombosis) ซึ่งอาจพบในหัวใจ ปอด ตับ ไต, ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC, disseminated intravascular coagulation), ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (thromboembolism) เช่น หลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary embolism) ที่ร้ายแรงตามมาได้
    โรคระบบประสาทและสมอง เช่น ชัก เดินเซ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง (ตีบหรือแตก) อัมพาตครึ่งซีก กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ไมแอสทีเนียเกรวิส โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
    โรคตับเฉียบพลัน (acute liver injury) ซึ่งมีความผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้งตับวาย
    โรคไตเฉียบพลัน (acute kidney injury) ซึ่งมีความผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้งไตวาย
    ในเด็กพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางรายที่อาจเกิดกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (multisystem inflammatory syndrome in children/MIS-C) แทรกซ้อน ซึ่งอาจร้ายแรงถึงทำให้เสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคโควิด-19 มีอาการและสิ่งตรวจพบคล้ายโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ) จากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสชนิดอื่น ๆ จึงไม่อาจวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบได้

หากสงสัย เช่น มีประวัติสัมผัสโรค เดินทางไปหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ หรือเป็นกลุ่มที่มีอาชีพหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 เแพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 (เชื้อโควิด-19) จากสารคัดหลั่งที่จมูกหรือลำคอของผู้ป่วยซึ่งเก็บตัวอย่างโดยการใช้ไม้ป้ายจมูกหรือคอ (nasal/throat swab) และทำการตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า "Reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR)"

นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจดูภาวะแทรกซ้อน เช่น เอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ตรวจดูอาการปอดอักเสบ) ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

การรักษาโดยแพทย์

1. ในรายที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ไม่มีอาการและรู้สึกสบายดี ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอยางน้อย 5 วัน และสังเกตอาการ โดยไม่ต้องให้ยารักษา

2. ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่เป็นปอดอักเสบ และไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง* ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการทั้งหมด และมักจะหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องให้ยารักษา หรือเพียงให้ยารักษาตามอาการแบบเดียวกับการรักษาไข้หวัด (เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ เป็นต้น) และแนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอย่างน้อย 5 วัน

ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถพักรักษาตัวเองและเฝ้าดูอาการอยู่ที่บ้าน และให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอย่างน้อย 5 วัน

3. ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่รุนแรง* หรือผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง (ซึ่งยังไม่ต้องให้ออกซิเจน) แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส (nirmatrelvir/ritonavir, remdesivir หรือ molnupiravir) ซึ่งมีขนาด วิธีใช้ ผลข้างเคียง และข้อควรระวังยาที่แตกต่างกัน แพทย์จะเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยพิจารณาให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และจะต้องให้ภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาเม็ด nirmatrelvir/ritonavir (เป็นยาต้านไวรัส 2 ชนิดรวมในเม็ดเดียว มีชื่อการค้าว่า Paxlovid) กิน 5 วัน ยานี้มีประสิทธิภาพดีในการรักษา แต่มีข้อเสียคือ ไม่ควรกินร่วมกับยาอื่นจำนวนมาก เพราะอาจมีปฏิกิริยาต่อกัน จนเกิดผลลบต่อร่างกายหรือการรักษาได้, ยา remdesivir เป็นยาที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละครั้ง 3 วัน ซึ่งมีความไม่สะดวก, ส่วนยาเม็ด molnupiravir ให้กิน 5 วัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพด้อยกว่าอีก 2 ชนิดข้างต้น จะใช้เมื่อไม่สามารถใช้ยาดังกล่าว มีข้อดีคือ ใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่ควรใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร

4. แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีไข้ตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป วัดได้อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง โดยวัดห่างกัน 4 ชั่วโมง
    มีภาวะขาดออกซิเจน มีค่าระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95% (มีค่าเท่ากับหรือต่ำกว่า 94%)
    เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และขาดคนดูแลได้ตลอดเวลา
    มีภาวะแทรกซ้อน หรือมีการกำเริบของโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม
    มีภาวะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาล
    ผู้ป่วยเด็ก ที่มีภาวะที่จำเป็นต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ออกซิเจน มีอาการซึม ชัก ท้องเดิน อาเจียน กินไม่ได้ ขาดน้ำ เป็นต้น

แพทย์จะทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อประเมินความรุนแรง และค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

การรักษา แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส (nirmatrelvir/ritonavir, remdesivir หรือ molnupiravir) อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยาสเตียรอยด์ (เช่น เดกซาเมทาโซน เพร็ดนิโซโลน) เพื่อลดปฏิกิริยาการอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบรุนแรงในผู้ใหญ่ หรือในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มีอาการหายใจเร็วผิดปกติ (อายุ 0-2 เดือน หายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที, 2-12 เดือน หายใจมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที, 1-5 ปี หายใจมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที, มากกว่า 5 ปี หายใจมากกว่า 30 ครั้งต่อนาที) และต้องให้ออกซิเจนในการรักษา แพทย์จะให้ยาต้านไวรัส remdesivir และยาสเตียรอยด์

นอกจากนี้ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ และทำการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ตรวจพบ เช่น ให้น้ำเกลือ, ให้ออกซิเจน, ใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenation/ECMO), ให้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (รวมทั้งภาวะโลหิตเป็นพิษ), ให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม (เช่น เฮพาริน) ในรายที่มีสัญญาณของการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ, ทำการล้างไต (dialysis) ในรายที่มีภาวะไตวาย เป็นต้น

ผลการรักษา ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง จะหายเป็นปกติได้ในราว 2 สัปดาห์หลังมีอาการ

ในรายที่มีอาการรุนแรง จะหายเป็นปกติได้ในราว 2-6 สัปดาห์หลังมีอาการ บางรายอาจนานหลายเดือน ในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอาการหนักและเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยทั่วโลกราวร้อยละ 1-2** ของผู้ป่วย ซึ่งจะเกิดขึ้นในราว 1-7 สัปดาห์หลังมีอาการ

ผู้ป่วยบางราย (มีรายงานว่าราวร้อยละ 10-40 ของผู้ป่วยทั้งหมด) แม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาจนหายและตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ก็ยังอาจมีอาการผิดปกติอย่างต่อเนื่องนานเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี ๆ แพทย์เรียกภาวะที่มีอาการผิดปกตินานเกิน 4 สัปดาห์หลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 นี้ว่า "กลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19" (post-COVID-19 syndrome) หรือ "ภาวะหลังเป็นโควิด-19 (post-COVID-19 condition)" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โควิดยาว" (long COVID)*** มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยและแข็งแรงดีมาก่อน รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย และไม่มีอาการได้เช่นกัน

*กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ที่สำคัญ ได้แก่

    ผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปีขึ้นไป) อายุยิ่งมากยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
    ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาสเตียรอยด์ (ที่มีขนาดเทียบเท่า prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วันขึ้นไป)
    ผู้ที่ป่วยมีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน (ที่ควบคุมไม่ได้) โรคปอดเรื้อรัง (เช่น ถุงลมปอดโป่งพอง) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป) ภาวะไตวายเรื้อรัง (stage 3 ขึ้นไป) มะเร็ง (ที่กำลังรับการรักษา)
    ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์ (ที่มีค่า CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.)
    ผู้ที่มีภาวะอ้วน (มีน้ำหนักมากว่า 90 กก. หรือมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 30 กก./ตร.เมตร)
    สำหรับกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี, เด็กที่มีภาวะอ้วน เป็นโรคพันธุกรรม กลุ่มอาการดาวน์ มีภาวะพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรงหรือมีพัฒนาการช้า เป็นเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (รวมทั้งโรคหืด) มะเร็ง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

หมายเหตุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่มานาน และหญิงตั้งครรภ์ พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มนี้เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะมีอาการมากน้อยเพียงใด ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้แพทย์พิจารณาให้การรักษา (รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัส) ตามความรุนแรงของโรคที่ตรวจพบ


**อัตราตายมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นกับจำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยที่ไม่ได้ถูกตรวจหาเชื้อ) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และประสิทธิภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วย

ความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาที่เป็นตัวก่อโรค และระดับภูมิคุ้มกันหมู่ของประชากรซึ่งเกิดจากการฉีดวัคซีน

ไวรัสตัวนี้มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ หลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์แอลฟา ซึ่งพบครั้งแรกที่อังกฤษ, สายพันธุ์บีตา ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้, สายพันธุ์แกมมา ซึ่งพบครั้งแรกที่บราซิล, สายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกที่อินเดีย, สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกที่เปรู, สายพันธุ์โอมิครอน (โอไมครอน) ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เป็นต้น เชื้อเหล่านี้มีความเร็วในการแพร่เชื้อ อาการแสดง และความรุนแรงที่ต่างกัน

สำหรับสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้เมื่อปลายปี 2564 ได้ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ และมีการกลายพันธุ์เรื่อยมาเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ หลายชนิด นับว่าเป็นเชื้อที่ก่อโรคโควิด-19 หลัก ซึ่งสามารถแพร่โรคได้เร็วขึ้น แต่มีความรุนแรงน้อยลง

***โควิดยาว มีอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนล้า ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (อาจถึงขั้นทำงานไม่ได้ เดินไม่ได้) เจ็บหน้าอก เจ็บคอ ไม่มีสมาธิ ความคิดสับสน มีความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น เห็นบ้านหมุน ใจเต้นเร็วหรือใจสั่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส มีไข้ต่ำ ไอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน ปวดหูหรือมีเสียงในหู ผมร่วง มีผื่นตามตัว ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ไม่มีลักษณะตายตัว บางรายอาจมีอาการมากจนทำงานไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น หรือต้องให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ

สันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นอาการที่ตกค้างมาแต่แรก อีกส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดจากอวัยวะต่าง ๆ (เช่น ปอด หัวใจ สมอง) ถูกเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำลายจนทำงานผิดปกติ รวมทั้งอาจเกิดจากผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับโรคที่รุนแรงและจำเป็นต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนาน ๆ (เกิดภาวะที่เรียกว่า "ภาวะจิตเครียดหลังเผชิญเหตุสะเทือนขวัญ" post-traumatic stress disorder/PTSD)

ส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แล้วเกิดภาวะ "โควิดยาว" ยังอธิบายสาเหตุไม่ได้ชัดเจน บ้างสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากความกลัว ความวิตกกังวล ความเครียด หรือมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ (เช่น สมอง หัวใจ) ที่เกิดจากการบ่อนทำลายโดยเศษซากของเชื้อโควิด-19 ซึ่งยังไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการตรวจในปัจจุบัน (มีรายงานการทดลองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ผู้ที่มีภาวะโควิดยาว พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาการดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า สาเหตุหนึ่งของภาวะโควิดยาวเกิดมาจากมีเศษซากของเชื้อโควิด-19 หลงเหลืออยู่ในร่างกาย เมื่อได้รับวัคซีนเข้าไปทำลายเชื้อให้หมดไปจึงทำให้อาการดีขึ้น)

สำหรับกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (โควิดยาว) แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ (เช่น ผู้ที่มีอาการปวด แพทย์จะให้ยาบรรเทาปวด ผู้ที่มีอาการหอบเหนื่อย แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลม และอาจต้องให้ออกซิเจน ผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับ แพทย์จะให้ยากล่อมประสาท และ/หรือยานอนหลับ เป็นต้น) แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้รู้จักดูแลสุขภาพตนเอง (ในเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อน การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ) และติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอาการจะเป็นนานแค่ไหนยังไม่มีข้อสรุป แต่คาดว่าอาการบางอย่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากอวัยวะถูกทำลาย) อาจเป็นนานเป็นปีหรือหรือมากกว่า หรือตลอดไป ซึ่งจะต้องรอการติดตามศึกษาต่อไป

การดูแลตนเอง

หากมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโควิด-19, อยู่หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค, เข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ (เช่น บ่อน สนามมวย สถานบันเทิง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เป็นต้น) หรือมีอาการเจ็บป่วย (เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ไอ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส เป็นหวัด เจ็บคอ ท้องเดิน เป็นต้น) ซึ่งสงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด-19, หรือใช้ชุดตรวจแอนติเจน (antigen test kid/ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรไปปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า