ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ความดันโลหิตสูง (Hypertension)  (อ่าน 982 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 292
  • โพสประกาศฟรี , ลงประกาศฟรีออนไลน์, เว็บประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดความดัน (sphygmomanometer) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ

1. ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคนคนเดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย

2. ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

    ความดันโลหิตปกติ หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท และความดันช่วงล่างมีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
    ความดันโลหิตสูง (ความดันเลือดสูง ความดันสูง ก็เรียก) หมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป

โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้

บางรายอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว (มีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป) แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง (มีค่าต่ำกว่า 90 มม.ปรอท) เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (isolated systolic hypertension/ISHT) ซึ่งนับว่ามีอันตรายไม่น้อยกว่าความดันช่วงล่างสูง และควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง

ส่วนผู้ที่ความดันช่วงบนมีค่า 130-139 มม.ปรอท และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่า 85-89 มม.ปรอท นับว่าเป็นความดันปกติแต่ค่อนไปทางสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูงตามมาในอนาคต

โรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณร้อยละ 25 ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป และพบเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น อายุ 60 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50

สาเหตุ

1. ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 95) จะไม่พบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ (primary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (essential hypertension)

แต่อย่างไรก็ตาม มักพบว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค กล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า

นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน การกินอาหารเค็มจัดหรือมีเกลือโซเดียมสูง และการดื่มแอลกอฮอล์จัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของการเกิดโรคนี้

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น

2. ส่วนน้อย (ประมาณร้อยละ 5) อาจตรวจพบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ (secondary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงชนิดมีสาเหตุ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

    ความดันช่วงบน ≥ 180 หรือช่วงล่าง ≥ 110 มม.ปรอท
    มีความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที
    ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นก่อนอายุ 30 ปี หรือหลังอายุ 50 ปี
    พบภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายโต มีค่าครีอะตินีนในเลือด > 1.5 มก./ดล.
    จอตาเสื่อม (hypertensive retinopathy) ระดับ 3 หรือ 4
    คุมความดันไม่ได้หลังจากเคยคุมได้ดีมาก่อน หรือใช้ยาลดความดันหลายชนิดแล้วยังคุมความดันไม่ได้
    มีอาการที่สงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ

3. ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว มักพบในผู้สูงอายุ (ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น) โรคคอพอกเป็นพิษ ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (aortic insufficiency)

4. ความดันโลหิตอาจสูงได้ชั่วคราว เมื่อมีภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ ซีด ออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด (เช่น โกรธ ตื่นเต้น) เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรักษา จะหายไปได้เองเมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป

อาการ

ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น

ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง

ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล

เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น

ในรายที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ก็อาจมีอาการแสดงของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น มีระดับความดันโลหิตแกว่งขึ้น ๆ ลง ๆ ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ใจสั่น และเหงื่อออกเป็นพัก ๆ (อาจเป็นเนื้องอกต่อมหมวกไตฟีโอโครโมไซโตมา) ปวดหลังร่วมกับปัสสาวะขุ่นแดง (อาจเป็นนิ่วไต) ต้นแขนและขาอ่อนแรงเป็นพัก ๆ (อาจเป็นภาวะแอลโดสเตอโรนสูงชนิดปฐมภูมิ) มีอาการนอนกรนผิดปกติ (อาจเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ) รูปร่างอ้วนฉุ หน้าอูม มีไขมัน (หนอกควาย) ที่หลังคอ และมีประวัติกินยาสเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาลูกกลอน (อาจเป็นโรคคุชชิง) เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่นาน ๆ มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) หลอดเลือดตีบ เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่

1. หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต (left ventricular hypertrophy/LVH) ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นมากขึ้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจตามมาได้

โรคนี้ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบกลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้าเป็นรุนแรงอาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้

ในรายที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง อาจตรวจพบหัวใจเต้น > 120 ครั้ง/นาที และจังหวะไม่สม่ำเสมอจากหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว

2. สมอง อาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก กลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

ในรายที่มีหลอดเลือดฝอยในสมองส่วนสำคัญแตกก็อาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

บางรายถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง

ในรายที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึม เพ้อ ชัก หรือหมดสติได้ เรียกว่า "Hypertensive encephalopathy"

3. ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงแข็ง เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตที่วายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย การตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว (albumin) ตั้งแต่ 2+ ขึ้นไป การเจาะเลือดทดสอบการทำงานของไต จะพบระดับของสารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง

4. ตา จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบ ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม เรียกว่าภาวะ "จอตาเสื่อม" (hypertensive retinopathy) จะมีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ ซึ่งสามารถใช้เครื่องส่องตา (ophthalmoscope) ตรวจดูความผิดปกติภายในลูกตา

นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดภาวะจุดภาพชัดเสื่อมตามวัย โรคหลอดเลือดแดงหลักของจอตาอุดตัน ทำให้สายตาพิการได้

5. หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงตายได้

นอกจากนี้ อาจเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (peripheral artery disease) เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงส่วนที่มาเลี้ยงขาและปลายเท้าเกิดภาวะแข็งตัวและตีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการสูบบุหรี่ และ/หรือมีโรคเบาหวานร่วมด้วย ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาและปลายเท้าได้น้อย อาจมีอาการเป็นตะคริวบ่อย หรือปวดน่องขณะเดินมาก ๆ หากหลอดเลือดแดงเกิดอุดตันก็อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดเลือด และกลายเป็นเนื้อตายเน่า (gangrene) ได้ (อ่านเพิ่มเติมที่โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ)

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นรุนแรงหรือรวดเร็วเพียงใดขึ้นกับความรุนแรงและระยะของโรค ถ้าความดันมีขนาดสูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รวดเร็ว และผู้ป่วยอาจตายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี (ถ้ารุนแรงมากอาจตายภายใน 6-8 เดือน) ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจใช้เวลา 7-10 ปี ในการเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ถ้าสามารถควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ก็อาจป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ หรือทำให้ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นลดความรุนแรงลงได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ) สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น จึงควรควบคุมโรคและพฤติกรรมเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากการตรวจพบค่าความดันเฉลี่ยจากการวัดที่สถานพยาบาลตั้งแต่มาพบแพทย์ครั้งแรกเป็นหลัก โดยทำการวัดความดันในท่านั่ง อย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกัน 1-2 นาที) แล้วหาค่าเฉลี่ย ถ้าพบว่าค่าความดันเฉลี่ยสูงกว่าปกติ คือ ความดันโลหิตช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบความผิดปกติชัดเจน ยกเว้นในรายที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ อาจพบอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น

    ชีพจรเร็ว มือสั่น ต่อมไทรอยด์โตในรายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือคอพอกเป็นพิษ
    ชีพจรที่ขาหนีบคลำไม่ได้หรือคลำได้แผ่วเบาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ
    คลำได้ก้อนในท้องส่วนบน 2 ข้าง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงน้ำไตชนิดหลายถุง
    ใช้เครื่องฟังได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่หน้าท้องตรงบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือซ้าย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงไตตีบ
    ได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ตรงลิ้นหัวใจเอออร์ติก ในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว
    รูปร่างอ้วนฉุ หน้าอูม มีไขมัน (หนอกควาย) ที่หลังคอ อาจมีประวัติกินยาสเตียรอยด์ ยาชุด หรือยาลูกกลอน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคคุชชิง เป็นต้น

การรักษาโดยแพทย์

ก่อนให้การรักษา จะทำการตรวจประเมินผู้ป่วยทุกรายโดยการค้นหาสาเหตุ ประเมินพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (อ่านเพิ่มเติมที่ "ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด" หัวข้อภาวะแทรกซ้อน ด้านบน) ค้นหาโรคที่สัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง (อ่านเพิ่มเติมที่ "ตารางโรคที่สัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง" ด่านล่าง) และร่องรอยการทำลายของอวัยวะจากโรคความดันโลหิตสูง (อ่านเพิ่มเติมที่ "ตารางร่องรอยการทำลายของอวัยวะจากโรคความดันโลหิตสูง โดยผู้ป่วยยังไม่มีอาการ" ด้านล่าง) รวมทั้งค้นหาโรคหรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเลือกใช้ยาลดความดัน โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด (หาระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ กรดยูริก ครีอะตินีน โพแทสเซียม โซเดียม เฮโมโกลบิน และฮีมาโทคริต) ซึ่งควรตรวจตั้งแต่ครั้งแรกที่วินิจฉัยและตรวจซ้ำปีละ 1-2 ครั้ง หรือตรวจบ่อยขึ้นถ้าพบว่ามีความผิดปกติ

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (อ่านเพิ่มเติมที่ "ตารางปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด") (อ่านเพิ่มเติมที่ "ตารางปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด" หัวข้อภาวะแทรกซ้อน ด้านบน) และจะเริ่มให้ยาลดความดัน* โดยพิจารณาจากระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง (โดยดูจากค่าความดันเฉลี่ยที่วัดได้ที่สถานพยาบาล) ร่วมกับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีแนวทาง (ตาม "แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562") ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ดังนี้

1.1 ความดันช่วงบน 130-139 และ/หรือความดันช่วงล่าง 85-89 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรมเป็นหลัก และอาจให้ยาลดความดันในรายที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย

1.2 ความดันช่วงบน 140-159 และ/หรือความดันช่วงล่าง 90-99 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดันในกลุ่มเสี่ยงกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (2) ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (3) ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่มีร่องรอยการทำลายของอวัยวะจากโรคความดันโลหิตสูง  หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปี (10-year Thai CV risk score)**

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะให้ยาลดความดัน เมื่อลองปรับพฤติกรรมและติดตามนาน 3-6 เดือนแล้วความดันยังไม่ลดได้เป็นปกติตามเป้าหมาย

1.3 ความดันช่วงบน 160-179 และ/หรือความดันช่วงล่าง 100-109 มม.ปรอท แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดันในกลุ่มเสี่ยง (ดังในข้อ 1.2)

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดความดันในผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลายคน ผู้ที่มีอาการ (เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น) หรือผู้ที่มีความวิตกกังวลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงค่อนข้างมาก

1.4 ความดันช่วงบน ตั้งแต่ 180 และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 110 มม.ปรอทขึ้นไป แนะนำให้ปรับพฤติกรรม และให้ยาลดความดัน

1.5 สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป แพทย์จะเริ่มให้ยาลดความดันเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 160 มม.ปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป

ถ้าหากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงมากเนื่องจากเคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) แพทย์อาจพิจารณาเริ่มให้ยาลดความดันเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป

1.6 เป้าหมายของการลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 65 ปี ที่เป็นความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว หรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) ความดันที่วัดที่สถานพยาบาล ควรให้ค่าความดันช่วงบนอยู่ที่ 120-130  และช่วงล่างอยู่ที่ 70-79 มม.ปรอท

ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่เป็นความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว หรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง) ความดันที่วัดที่สถานพยาบาล ควรให้ค่าความดันช่วงบนอยู่ที่ 130-139 และช่วงล่างอยู่ที่ 70-79 มม.ปรอท

2. การติดตามผลการรักษา ช่วงแรก ๆ จะนัดผู้ป่วยมาตรวจเดือนละ 1 ครั้ง (ถ้าความดันสูงมากนัดทุก 1-2 สัปดาห์) เมื่อคุมได้ตามเป้าหมายแล้ว นัดเป็นทุก 3-6 เดือน และจะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการทุก 6-12 เดือน

ในการติดตามผู้ป่วย แพทย์จะเน้นให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมอย่างจริงจัง ซักถามอาการและตรวจดูภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น และปรับยาที่ใช้ให้เหมาะสม

3. การดื้อต่อการรักษา (resistant hypertension) หมายถึงการที่ผู้ป่วยกินยาลดความดันร่วมกันตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (รวมทั้งยาขับปัสสาวะ) จนเต็มขนาดของยาแล้วยังควบคุมไม่ได้ตามเป้าหมาย แพทย์ก็จะทำการค้นหาสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อร่วมกันดังนี้

    วัดความดันไม่ถูกต้อง
    สั่งให้ยาลดความดันในขนาดน้อยไป
    ผู้ป่วยไม่ยอมกินยาตามสั่ง
    กินอาหารที่มีโซเดียมสูง
    ใช้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
    น้ำหนักตัวขึ้นมาก (อ้วน)
    ดื่มแอลกอฮอล์จัด
    เป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ

4. การรักษาโรคที่พบร่วม ในรายที่มีโรคหรือภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น แพทย์ก็จะให้ยารักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย

ผลการรักษา ถ้าได้รับการรักษากับแพทย์และดูแลตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ และจะป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ แต่จำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องไปตลอด ในรายที่ปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น การรักษาจะช่วยลดความรุนแรง และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

*ยาลดความดัน ที่ใช้เป็นพื้นฐาน ได้แก่ (1) กลุ่มยาขับปัสสาวะ (Diuretic เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์)  (2) กลุ่มยาต้านแคลเซียม (calcium blocker เช่น แอมโลดิพีน) (3) กลุ่มยาต้านเอซ (ACE inhibitor เช่น อีนาลาพริล) (4) กลุ่มยาเออาร์บี (ARB เช่น โลซาร์แทน) ซึ่งยาแต่ละกลุ่มมีข้อดีและเสียแตกต่างกัน และผู้ป่วยแต่ละคนตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน
 

การดูแลตนเอง

เมื่อตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    ดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หมั่นวัดความดันที่บ้านหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง
    กินยาลดความดันให้ครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ปรับยาเองตามใจชอบ แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม (ความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการแสดงให้รู้สึก ควรดูผลว่าดีหรือไม่ด้วยการวัดความดันเท่านั้น)
    หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิด (เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ข้ออักเสบ ยาชุดหรือยาลูกกลอนที่ผสมยาสเตียรอยด์) อาจทำให้ความดันสูงได้
    ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสารสกัดจากสมุนไพรที่อาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เช่น ชะเอม, ชะเอมเทศ, ส้มขม, มาฮวง, โยฮิมบี เป็นต้น
    หมั่นปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคอย่างจริงจัง (อ่านเพิ่มที่ "การปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด" หัวข้อการรักษาโดยแพทย์ ด้านบน)

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    วัดความดันแล้วพบว่าสูงต่อเนื่องกัน 2-3 ครั้ง
    ขาดยาหรือยาหาย
    มีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ หรือหน้ามืดนานเป็นวัน ๆ หรือลุกขึ้นนั่งหรือยืนรู้สึกจะเป็นลม
    มีอาการเจ็บจุกแน่นหน้าอก พูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว หรือแขนขาชาหรืออ่อนแรง
    มีอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยนานหลายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ (เพราะอาจเกิดภาวะความดันต่ำเกินจากยาที่กินได้)
    สังเกตพบมีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องผูก (มักเกิดจากยาขับปัสสาวะ), ไอเรื้อรัง (มักเกิดจากยาต้าเอซ เช่น อีนาลาพริล) เท้าบวม (มักเกิดจากยาต้านแคลเซียม เช่น แอมโลดิพีน) หรือกินยาแล้วมีอาการผิดสังเกตอื่น ๆ เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

การป้องกัน

สำหรับคนทั่วไป อาจป้องกันมิให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยการปฏิบัติตัวดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักตัว โดยให้มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23 กก./ม.2 ความยาวรอบเอว < 80 ซม. ในผู้หญิง หรือ < 90 ซม. ในผู้ชาย โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2. ออกกำลังกายแบบแอโรบิก (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ) ครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง หรือวันเว้นวัน

3. ลดปริมาณเกลือโซเดียมที่บริโภค ไม่เกินวันละ 2.4 กรัม (เทียบเท่าเกลือแกง 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา)

4. กินผักผลไม้มาก ๆ และลดอาหารพวกไขมันชนิดอิ่มตัว

5. ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ชายควรจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 ดื่มมาตรฐาน สำหรับผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยควรจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 1 ดื่มมาตรฐาน


 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า