ข้อควรรู้! สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ควรดูแลตัวเองอย่างไร?ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด เพราะหากติดเชื้อโควิด จะมีอันตรายและส่งผลให้มีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในไตรมาสที่ 3 ถือเป็นระยะอันตรายที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากขนาดของมดลูกจะค่อนข้างโต ทำให้ปอดของคุณแม่ขยายตัวได้ไม่ดี หากได้รับเชื้อ จึงมักพบอาการที่รุนแรง มีโอกาสเกิดภาวะปอดอักเสบสูง
หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ แนะนำให้ฝากครรภ์ตามปกติ
สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาเมื่ออยู่นอกบ้าน
หมั่นล้างมือบ่อยๆ พกแอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัว เพื่อทำความสะอาดมือตลอดเวลา
หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา ปาก และจมูก
ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอหรือจาม
หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือที่แออัด เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ
เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร
ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารสุก สะอาด
พักผ่อนนอนหลับให้ครบ 8 – 10 ชั่วโมง/วัน
ไม่เครียด หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป ทำกิจกรรมช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง ดูหนัง
รักษาสุขภาพอย่างระมัดระวัง มากกว่าการตั้งครรภ์ในสถานการณ์ปกติ
หมั่นสังเกตอาการของตนเอง เช่น อาการบวม ทารกดิ้นน้อยลง เจ็บครรภ์ เลือดออกทางช่องคลอด เป็นต้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ให้รีบมาพบแพทย์โดยทันที
หญิงตั้งครรภ์ติดโควิดแล้วมีผลต่อสุขภาพและทารกในครรภ์อย่างไร
ข้อมูลจากงานวิจัยในหญิงตั้งครรภ์กว่าสองหมื่นรายทั่วโลก สรุปได้ว่า
ทารกพิการในครรภ์ ไม่พบความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป
ทารกตายในครรภ์ งานวิจัยทั่วโลกไม่พบความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป แต่ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า เชื่อว่าเพราะมาตรการการฝากครรภ์ที่ต้องอาศัยการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทำให้การตรวจจับภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความรุนแรงของโรคต่างๆในขณะตั้งครรภ์ช้าไป
การแท้งลูก งานวิจัยทั่วโลกไม่พบความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป
ทารกคลอดก่อนกำหนด งานวิจัยทั่วโลกไม่พบความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนทั่วไป แต่งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น เชื่อว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดจากเหตุผลทางการแพทย์
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการติดเชื้อโควิดรุนแรงแพทย์มักจะให้คลอด 32-35 สัปดาห์ จึงเพิ่มอัตราคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 95 ของทารกที่คลอดจากหญิงติดเชื้อโควิดแข็งแรงปลอดภัย
พบอัตราติดเชื้อโควิดในทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อโควิดร้อยละ 2-5 ส่วนใหญ่ทารกเจ็บป่วยไม่รุนแรง
*ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จะไม่แสดงอาการ(มากกว่า 2 ใน 3) อาจพบอาการรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัว
*การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกอาจพบได้ประมาณ 2-5%
*มีโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด 1.51% ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเรื่องการแท้งบุตร และควรได้รับการดูแลจากสูตินารีแพทย์
ดูแลลูกน้อยอย่างไรดี เมื่อคุณแม่ติดโควิด-19 | แพทย์หญิงสโรชา วุฒิพุธนันท์
คุณแม่ป่วยเป็น Covid-19 ให้นมลูกได้ไหม ?
น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด โดยในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารและวิตามินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ทารก อีกทั้งยังส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ทารกแรกเกิดจึงควรได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และหลังจากนั้น สามารถให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารอื่นที่เหมาะสมตามวัย จนกระทั่งมีอายุ 2 ปี หรือจนกว่าจะหย่านมไปเอง
Covid-19 ไม่สามารถติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ไปสู่ทารกได้!
แม่ทุกคน สามารถให้นมลูกได้! ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มติดเชื้อ Covid-19 โดยมีการศึกษาแล้วว่า ไม่พบเชื้อในน้ำคร่ำและน้ำนม คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกติอย่างมั่นใจ โดยการให้นมลูกของคุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังนี้
COVID-19 แบบไหนเรียก “เสี่ยงสูง” ปฏิบัติตัวอย่างไรดี?
กรณีการให้นมทารกจากเต้า
ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งก่อน-หลังให้นม
อาบน้ำและเช็ดทำความสะอาด บริเวณเต้านมและหัวนม
ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ก่อน-หลังสัมผัสลูกทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการไอ จาม หอม จุ๊บปาก ขณะที่อุ้มทารก
กรณีบีบน้ำนม/ปั๊มนม เก็บให้ทารก
ในระหว่างการปั๊มนม ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ล้างมือ ทำความสะอาดเต้านมด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนและแหลังบีบนม
ทำความสะอาดขวดนม และเครื่องปั๊มนมหลังใช้งานทุกครั้ง
หลังการปั๊มนม ให้เก็บขวดนมในถุงและทำการฆ่าเชื้อภายนอกถุงด้วยแอลกอฮอล์ 70% ก่อนนำถุงน้ำนมมาเก็บรักษาทุกครั้ง
คุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถฉีดวัคซีน covid-19 ได้หรือไม่?
คุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถรับวัคซีนโควิด19 ได้ทุกชนิดในขณะนี้ (เมื่อมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์เป็นต้นไป)
โดยควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็นตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยควรเว้นระยะห่างอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการฝากครรภ์ก่อนตัดสินใจเข้ารับวัคซีน
ผู้หญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีน covid-19 ได้หรือไม่?
หญิงให้นมบุตรสามารถรับวัคซีน covid-19 ได้ทุกชนิด ที่มีในขณะนี้ โดยไม่จำเป็นต้องงดนมแม่หลังฉีดวัคซีน
ปัจจุบันแม้มีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน แต่พบว่าผลข้างเคียงในคนท้องเป็นเช่นเดียวกับประชากรทั่วไป ยังไม่พบอันตรายของวัคซีนต่อแม่และลูก หากแม่ตั้งครรภ์ฉีดไปแล้วหนึ่งเข็มก่อนการตั้งครรภ์ สามารถฉีดเข็มสองตอนตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้นยังพบภูมิต้านทานโควิดในเด็กบางรายที่คลอดออกมาเมื่อแม่ฉีดวัคซีนด้วย
เช่นเดียวกับเหตุผลความปลอดภัยต่อแม่และลูกของวัคซีนโควิด หญิงที่เตรียมตัวท้องสามารถฉีดวัคซีนได้