ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: โรคหัด (Measles)  (อ่าน 441 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 254
  • โพสประกาศฟรี , ลงประกาศฟรีออนไลน์, เว็บประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: โรคหัด (Measles)
« เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2024, 14:57:54 น. »
Doctor At Home: โรคหัด (Measles)

โรคหัด (Measles) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ที่ป่วยจะมีอาการเด่น ๆ คือ เกิดผื่นตามผิวหนังร่วมกับมีไข้ขึ้น ซึ่งในบางกรณี หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ ผู้ที่ป่วยอาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและการเสียชีวิตได้

โรคหัดเป็นโรคที่มักเกิดกับเด็ก โดยมีสาเหตุมากจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้จากคนสู่คนผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง

อาการของโรคหัด

โดยทั่วไปแล้ว อาการจากโรคหัดจะเริ่มแสดงภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยอาการที่มักพบได้ เช่น

    ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นสูง ซึ่งจะเริ่มเป็นไข้ประมาณ 10–12 วันหลังได้รับเชื้อ รวมถึงยังมีอาการน้ำมูกไหล ไอบ่อย เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง และมีตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม
    ระยะเกิดผื่น เมื่อผู้ป่วยออกอาการได้ 3–5 วัน ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง โดยมักเกิดผื่นแดงหรือสีแดงออกน้ำตาลขึ้นเป็นจุดบนหน้าผากก่อน แล้วค่อยแพร่กระจายมาที่ใบหน้าและลำคอ จากนั้นภายใน 3 วัน ผื่นจะกระจายมาถึงมือและเท้า และจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง

ในกรณีทารก เด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มะเร็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอที่พบอาการเข้าข่ายในลักษณะข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิดทันที

ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12  ปีที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เพราะเด็กอาจจะเกิดอาการแพ้ยาที่เรียกว่ากลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งทำให้ตับและสมองบวม โดยลักษณะอาการดังกล่าว ได้แก่ เด็กจะอาเจียนทันที อ่อนเพลีย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว พูดหรือทำอะไรที่แปลกไปจากเดิม และมักนอนซม


สาเหตุของโรคหัด

โรคหัดเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ ซึ่งอาจมาจากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ที่ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย

ผู้ที่เสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโรคหัดนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม แต่อาจพบได้มากในเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้และเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินเออย่างเพียงพอยังอาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนและได้รับเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ รวมทั้งผู้ที่ขาดสารอาหารนั้น จะป่วยเป็นโรคหัดอย่างรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ
การวินิจฉัยโรคหัด

ในการวินิจฉัยโรคหัด แพทย์จะตรวจดูว่าผู้ป่วยมีอาการผื่นขึ้นและเป็นไข้ร่วมด้วยหรือไม่ และผื่นที่ขึ้นบนผิวหนังนั้นมีลักษณะที่คล้ายโรคหัด (Morbilliform Exanthem) หรือไม่ รวมทั้งพิจารณาอาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้โรคหัด ได้แก่ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ตาแดงแฉะ และเป็นตุ่มคอพลิคสีขาวออกน้ำเงินที่ปรากฏภายในกระพุ้งแก้ม

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคน แพทย์อาจเจาะเลือดร่วมด้วยเพื่อผลการวินิจฉัยที่แม่นยำ โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคนเป็นกรณีไป
การรักษาโรคหัด

ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีทางการแพทย์ใดที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาและกำจัดเชื้อไวรัสของโรคหัดได้อย่างเฉพาะเจาะจง

แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการดื่มน้ำวันละ 6–8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย อยู่ในที่แห้งและมีอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อลดอาการไอและเจ็บคอ และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

โดยในระหว่างนี้ ผู้ป่วยโรคหัดที่เริ่มมีผื่นขึ้นควรอยู่ในบ้าน งดการไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือการพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย  4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

อย่างไรก็ดี แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดไข้ที่ไม่ใช่ยาแอสไพรินอย่างยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมักเกิดกับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กที่ขาดสารอาหารและภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดี โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้มีดังนี้

    ท้องเสียและอาเจียน ซึ่งจะนำไปสู่อาการขาดน้ำ
    หูชั้นกลางติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหู
    ติดเชื้อที่ตา ก่อให้เกิดอาการตาแดงเยิ้มแฉะ
    กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
    ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอักเสบ (Croup) เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปอด
    ไวรัสตับอักเสบ
    ตาเหล่ หากไวรัสส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อตา
    เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมองหรือที่สมอง

ในกรณีของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดและติดเชื้อไวรัสนั้นมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์และคลอดก่อนกำหนด โดยผู้เป็นแม่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของอายุครรภ์ ทั้งนี้ ทารกอาจจะมีน้ำหนักตัวเมื่อแรกคลอดน้อย

อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนบางอย่างได้หากรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยแพทย์แนะนำให้รักษาอาการขาดน้ำอันเป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคหัดด้วยการจิบน้ำผสมผงละลายเกลือแร่โออาร์เอส (Oral Rehydration Salt) เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับอาการติดเชื้อที่ตา หู และระบบทางเดินหายใจสามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้

นอกจากนี้ ในกรณีที่พบได้น้อย ผู้ป่วยโรคหัดอาจพบภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ได้เช่นกัน

    ตาบอด เกิดจากการติดเชื้อที่เส้นประสาทตา ทำให้เกิดโรคประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) และนำไปสู่ภาวะสูญเสียการมองเห็น
    ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและระบบประสาท
    ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้สมองเกิดความผิดปกติ (Subacute Sclerosing Panencephalitis: SSPE) โดยจัดเป็นกรณีที่เกิดน้อยมาก พบผู้เกิดภาวะนี้ได้ 1 ใน 25,000 ราย

การป้องกันโรคหัด

โรคหัดป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) ให้ครบตามกำหนด โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันคือวัคซีน Measles–Mumps–Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) โดยทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ  9–12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4–6 ปี

ส่วนเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน

อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง เช่น เป็นไข้หลังจากได้รับวัคซีน หรือเกิดอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดแต่อาการจะหายไปเอง

หรือในบางกรณี วัคซีนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น อาการชัก หูหนวก สมองถูกทำลาย และหมดสติไม่รู้ตัว แต่กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่พบได้น้อย นอกจากนี้ พ่อแม่บางรายยังเชื่อว่าวัคซีนโรคหัดก่อให้เกิดโรคออทิสติก (Autism) ในเด็ก แต่งานวิจัยหลายชิ้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่าโรคออทิสติกไม่ได้เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันร่างกายแต่อย่างใด

นอกจากวัคซีนในข้างต้น ยังมีวัคซีน Measles–Mumps–Rubella–Varicella Vaccine (MMRV) ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคทั้ง 3 โรคเช่นเดียวกับวัคซีน MMR แล้ว ยังป้องกันโรคอีสุกอีใสด้วย โดยเด็กอายุตั้งแต่ 12 เดือนจนถึงอายุ 12 ปีสามารถรับวัคซีนตัวนี้ได้

ทั้งนี้ การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดก็มีข้อจำกัดสำหรับบุคคลบางกลุ่ม โดยกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรคหัด ได้แก่

    สตรีมีครรภ์
    เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แล้วยังไม่ได้รับการรักษา
    ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
    เด็กที่มีประวัติแพ้เจลาตินหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) อย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับเชื้อไวรัสโรคหัดเข้าไปก็ยังสามารถฉีดแอนติบอดี้หรือสารโปรตีนที่มีชื่อว่าอิมมูนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพื่อป้องกันการป่วยได้ ซึ่งต้องฉีดสารดังกล่าวภายใน 6 วันหลังจากที่รับเชื้อ

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า